KINGWELD BOARD

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Leader in welding and inspection technology


    เริ่มต้นกับหัวข้อสำคัญที่สุด เรื่อง ความปลอดภัยในงานเชื่อม เสนอ การเชื่อมด้วยก๊าซ

    Admin
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 15
    Join date : 04/05/2010

    เริ่มต้นกับหัวข้อสำคัญที่สุด เรื่อง ความปลอดภัยในงานเชื่อม เสนอ การเชื่อมด้วยก๊าซ Empty เริ่มต้นกับหัวข้อสำคัญที่สุด เรื่อง ความปลอดภัยในงานเชื่อม เสนอ การเชื่อมด้วยก๊าซ

    ตั้งหัวข้อ  Admin Sun May 09, 2010 3:07 pm

    ความปลอดภัยในกระบวนการเชื่อมด้วยก๊าซ
    ในการเชื่อม ด้วยก๊าซนั้น จะประกอบด้วยการเชื่อมและการตัดด้วย อะเซทิลีน กับ ออกซิเจน และการตัดด้วย แอลพีจี กับ ออกซิเจน หรือการใช้ก๊าซอื่นๆ ซึ่งก๊าซที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนด้วยปฏิกิริยาทางเคมี โดยไม่รวมถึงการใช้ก๊าซเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ปกคลุมรอยเชื่อม หรือควบคุมการหลอมละลาย (เช่น อาร์กอน ฮีเลียม และคาร์บอนไดออกไซด์) affraid

    affraid อันตรายจากก๊าซอะเซทิลีน (รวมทั้ง โพรเพน ก๊าซธรรมชาติ และแอลพีจี)
    ขวดก๊าซอะเซทิลีนนั้น ต้องระลึกเสมอว่า มีพลังงานมหาศาลอยู่ภายใน เนื่องจากในขวดนั้นบรรจุด้วยก๊าซที่พร้อมขยายตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความดันในการอัดก๊าซเข้าไปในขวดนั้น มากกว่า 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งในการบรรจุก๊าซนั้น จะมีเทคนิคการละลายก๊าซเข้ากับตัวทำละลายจำพวก อะซีโตน ซึ่งอาจสามารถเพิ่มความดันที่บรรจุได้ถึง 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (เมื่อเกิดการขยายตัวแล้ว) ซึ่งความดันของก๊าซที่ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้วนั้น ก็สามารถใช้ในงานเชื่อมได้อย่างเหมาะสม และสามารถใส่ในขวดเพื่อทำการเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย
    ในขวดก๊าซอะเซทิลีนนั้น มีน้อยคนนักที่ทราบว่าภายในขวดจะบรรจุด้วยเม็ดซึมซับก๊าซ ซึ่งเป็นวัสดุจำพวกสารละลายของ อะซีโตน-อะเซทิลีน ซึ่งภายในจะมีสภาพเป็นของเหลวมากกว่าเป็นก๊าซ ขวดก๊าซอะเซทิลีนนั้น จะต้องถูกวางในแนวตั้งโดยวาล์วอยู่ด้านบนเสมอ ทั้งในขณะเก็บรักษาและการเคลื่อนย้าย โดยยอมให้มีการเอียงขวดได้เล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วการเคลื่อนย้ายขวดอะเซทิลีนนี้จะใช้รถเข็น เนื่องจากเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุด โดยห้ามไม่ให้มีการเอียงขวดออกจากแนวดิ่งเกินกว่า 45 องศา
    หากมีการวางขวดในแนวนอน ของเหลวในขวดจะไหลออกมาท่วมวาล์ว และเมื่อเปิดใช้งาน ของเหลวจะไหลออกมาแทนก๊าซ และขยายตัวอย่างรุนแรงที่บรรยากาศภายนอก (จาก 15 ไปสู่ 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ซึ่งก๊าซไวไฟเหล่านี้ จะติดไฟอย่างรุนแรง เนื่องจากความดันก๊าซที่สูง โดยจะระเบิดทันทีที่มีการจุดประกายไฟ ทั้งก๊าซอะเซทิลีนและอะซีโตนจะติดไฟ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเปลวไฟจากอะซีโตนนั้น สามารถควบคุมได้ยาก และมีอันตรายมาก
    โอกาสในการไหลออกมาของก๊าซเหลวนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากการวางขวดในแนวนอนเนื่องจากก๊าซใกล้หมด แต่อย่างไรก็ตาม สามารถที่จะตรวจสอบการรั่วไหลของก๊าซเหลวได้ง่าย เนื่องจากกลิ่นของก๊าซเหลวนั้น มีกลิ่นเดียวกันกับน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งมีอะซีโตนเป็นส่วนประกอบหลักเช่นกัน
    การรั่วไหลของก๊าซอะเซทิลีนสามารถเกิดขึ้นได้ที่วาล์วฝาขวด โดยบางครั้งอาจเกิดการระเบิดเล็กๆ เรียกว่าการวาบ ขึ้นบริเวณที่ก๊าซรั่ว และอีกจุดหนึ่งที่สามารถเกิดการรั่วขึ้นได้คือ จุกอุดกันระเบิด (จุกที่จะหลุดออกเมื่อก๊าซมีแรงดันสูงผิดปกติ) ความอันตรายไม่ได้อยู่ที่การวาบบริเวณที่ก๊าซรั่ว แต่จะอันตรายมากเมื่อมีการรั่วไหลของก๊าซในห้องเก็บ และไม่มีผู้ใดทราบ ทำให้ก๊าซออกมารวมตัวกันทั่วบริเวณห้องโดยไม่ระเหยไป เนื่องจากเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ซึ่งก๊าซเหล่านั้น พร้อมที่จะติดไฟได้ตลอดเวลา
    เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จะต้องทำการปิดวาล์วทันที และต้องทำการปิดวาล์วขวดก๊าซทุกครั้งหลังการใช้งานแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยทั่วไปแล้วขวดก๊าซอะเซทิลีนจะไม่สามารถเปิดหรือปิดได้ด้วยอุปกรณ์ทั่วไป จำเป็นต้องใช้ประแจเปิดวาล์วเท่านั้น และประแจจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมปิดวาล์วเสมอ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
    สำหรับการใช้งานก๊าซเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น โพรเพน ก๊าซธรรมชาติ และแอลพีจีนั้น ก็จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังเช่นเดียวกันกับการใช้ก๊าซอะเซทิลีนด้วย

    affraid อันตรายจากก๊าซออกซิเจน
    เมื่อพิจารณาคร่าวๆ อาจเห็นว่า ออกซิเจนน่าจะมีความปลอดภัยสูงกว่าก๊าซเชื้อเพลิงที่กล่าวมาข้างต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขวดออกซิเจนนั้น มีอันตรายสูงกว่าขวดอะเซทิลีน เนื่องจากก๊าซที่ถูกอัดในขวดออกซิเจนนั้น มีความดันสูงกว่าอะเซทิลีนมาก ซึ่งสามารถเกิดการระเบิดได้ทันที หากเกิดรูรั่ว หรือความเสียหายขึ้นกับขวด โดยเฉพาะบริเวณวาล์ว เนื่องจากขวดออกซิเจนนั้น มีความดันสูงมากถึง 2000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งความเสียหายที่วาล์วนั้น อาจทำให้ขวดออกซิเจนบินไปเหมือนเครื่องบินไอพ่น ซึ่งมีกำลังสูงพอที่จะทะลุกำแพงอิฐออกไปได้ และหากเกิดการเสียหายของขวดออกซิเจนในห้องเล็กๆ ที่ขวดไม่สามารถส่งกำลังกระแทกออกไปจากห้องได้ ขวดจะวิ่งและบินอย่างไม่มีทิศทางอยู่ภายในห้อง และสร้างความเสียหายที่น่ากลัวกับสิ่งที่อยู่ในห้องทั้งหมด รวมทั้งชีวิตมนุษย์ด้วย
    ผู้ปฏิบัติงานกับขวดออกซิเจนจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ห้ามให้เกิดการกระแทกของขวดออกซิเจนเด็ดขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งการทิ้งขวดลงจากที่สูง เช่นกระบะรถ หรือการล้มของขวด ซึ่งมักจะพบเสมอ เนื่องจากความหนักของขวด และการที่รูปทรงของขวดมีลักษณะเรียวยาวและฐานแคบ บวกกับความไม่ใส่ใจที่จะจัดหาอุปกรณ์ยึดขวดไม่ให้ล้ม ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายของวาล์วที่เกิดขึ้นจากการล้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการเคลื่อนย้าย และต้องมีการวางขวดในตำแหน่งระหว่างทางเป็นการชั่วคราว
    ความสะเพร่าอีกอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือ การเคลื่อนย้ายขวดออกซิเจนที่หมดแล้วโดยการกลิ้ง หรือใช้เป็นลูกกลิ้งในการขนย้ายวัตถุอื่นๆ อันที่จริงแล้วขวดออกซิเจนที่ “ดูเหมือนว่า” หมดแล้วนั้น เป็นเพียงการหมดของออกซิเจนในการใช้งานเท่านั้น และไม่ได้หมายความว่า ไม่มีก๊าซหลงเหลืออยู่ในขวด ซึ่งการกลิ้งนั้น อาจทำให้เกิดการเสียหายขึ้นที่ขวด และวาล์วได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในบางกรณี ใช้ขวดออกซิเจนดังกล่าว แทนโต๊ะเพื่อเชื่อมชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้เคลื่อนย้ายตำแหน่งของการทำงานได้สะดวก ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการเสียหายเนื่องจากน้ำหนักของงานแล้ว ยังเสี่ยงมากต่อความร้อน เปลวไฟ และเปลวอาร์กในการเชื่อม
    ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของความสะเพร่าในการใช้งานขวดออกซิเจนคือ โดยทั่วไปแล้วขวดออกซิเจน จะมีฝาครอบวาล์วมาพร้อมกันเสมอ โดยเฉพาะในระหว่างการขนย้าย ซึ่งฝาครอบวาล์วดังกล่าวจะถูกถอดออกในระหว่างการใช้งานซึ่งมีการยึดอย่างแน่นหนาแล้วเท่านั้น การเลิกใช้งานขวดออกซิเจนทุกครั้ง จะต้องปิดฝาครอบวาล์วเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายของวาล์วขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ปฏิบัติงานมักขาดความรอบคอบ และขาดสำนึกในการรักษาความปลอดภัย ซึ่งการเคลื่อนย้ายหรือเก็บรักษาขวดออกซิเจนโดยปราศจากฝาครอบวาล์วนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เมื่อถังล้มแล้วจะเกิดวินาศภัยได้สูงมาก
    เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว จะพบว่า ฝาครอบวาล์วหัวขวดออกซิเจน จะมีรูอยู่ 2-3 รู ซึ่งเป็นรูที่มีความหมายทางวิศวกรรม เนื่องจากรูดังกล่าวมีไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน เมื่อวาล์วเกิดความเสียหายขึ้นในขณะที่ฝาถูกปิดอยู่ ก๊าซจะถูกพ่นออกทางรูดังกล่าว และลักษณะตำแหน่งของรูดังกล่าวนี้ จะช่วยให้เกิดสมดุลของแรงระหว่างการรั่วของก๊าซ ทำให้ขวดก๊าซไม่ล้ม แต่ในบางกรณีรูดังกล่าวนี้ กูถูกใช้ผิดวิธี เช่น ใช้สำหรับหิ้ว หรือเคลื่อนย้ายขวดก๊าซ เนื่องจากสามารถใส่อุปกรณ์หรือไม้ เข้าไปในรูช่วยในการกลิ้งขวดได้ หรือการงัดขวดออกจากน้ำแข็ง ในกรณีที่อากาศหนาวเย็นมากๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเสียหายของวาล์วได้
    ไม่เพียงแต่ความดันที่สูงมากของออกซิเจนในขวดเท่านั้นที่เป็นอันตราย สิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังกับการใช้งานออกซิเจนอีกเรื่องหนึ่ง คือ คุณสมบัติทางเคมีของออกซิเจน ในกรณีที่ไม่มีสารเชื้อเพลิงอยู่ร่วมด้วยในกระบวนการเผาไหม้ ออกซิเจนจะเป็นก๊าซที่มีความเสถียร ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในกรณีที่มีเชื้อเพลิง และมีการรั่วออกของออกซิเจนความดันสูงในขวด จะทำให้เกิดเปลวเพลิงลุกพล่านขึ้นอย่างรุนแรงในเวลาอันสั้น บรรยากาศที่มีออกซิเจนจะเกิดระเบิดเนื่องจากการเผาไหม้ด้วยออกซิเจนความดันสูง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานกับออกซิเจน ที่จำเป็นต้องตรวจสอบปริมาณออกซิเจนด้วยการเปิดวาล์วที่ขวด หากสวมถุงมือที่เลอะน้ำมัน อาจทำให้ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารไวไฟในถุงมือ และเกิดการลุกไหม้อย่างรุนแรงได้
    หากมีการเก็บออกซิเจน และอะเซทิลีนไว้ด้วยกัน จะทำให้เกิดความอันตรายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลของก๊าซชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือทั้งสองชนิด ซึ่งเมื่อเกิดประกายไฟขึ้นในห้องเก็บ จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ และออกซิเจนจะเป็นตัวเร่งให้เปลวเพลิงเพิ่มความรุนแรงชนิดทวีคูณ การเก็บรักษาจะต้องกำหนดระยะห่างของขวดออกซิเจน และขวดอะเซทิลีนไว้ที่อย่างน้อย 20 ฟุต หรือใช้กำแพงกั้นที่มีความสูงอย่างน้อย 5 ฟุต

    affraid หัวเชื่อมและอุปกรณ์อื่นๆ
    หัวเชื่อมที่มีการใช้อยู่ทั่วไปมีการออกแบบทางวิศวกรรมที่เหมาะสม ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน โดยเฉพาะการออกแบบให้มีท่อนำก๊าซ 2 ท่อ อยู่ร่วมกัน ได้แก่ ออกซิเจน และอะเซทิลีน และมีห้องผสมก๊าซอยู่ภายใน ซึ่งถูกออกแบบให้เกิดการผสมก๊าซได้อย่างถูกต้อง ทั้งด้านปริมาณของก๊าซ และสัดส่วนการผสม โดยสามารถปรับได้จากวาล์วที่ด้ามจับ ซึ่งข้อสำคัญของการปรับปริมาณก๊าซคือ การปรับให้ได้ปริมาณสมดุลย์ หากไม่มีความสมดุลย์ในการปรับอาจทำให้เปลวไฟที่ติดอยู่ที่ปลายหัวเชื่อม ย้อนกลับตามก๊าซ เข้าสู่หัวเชื่อม และระเบิดอยู่ภายในหัวเชื่อม หรือที่เรียกในภาษาช่างเชื่อมว่า แฟลชแบ็ก (Flashback) ซึ่งจะทำให้เกิดเสียบ “ป้อบ” ขึ้นในหัวเชื่อม ซึ่งหากได้ยินเสียงดังกล่าวในระหว่างการเชื่อม ให้คำนึงเสมอว่า มีเปลวไฟย้อนกลับเข้าในหัวเชื่อม ให้ปิดวาล์วอะเซทิลีน และวาล์วออกซิเจนทันที การเกิดแฟลชแบ็กในระหว่างการเชื่อม สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากความร้อนจากการเชื่อมที่สะท้อนมาถึงหัวเชื่อม ทำให้เกิดการเสียรูป และบิดตัว หรืออาจเกิดรอยแตกของหัวเชื่อม
    อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญในการใช้งานหัวเชื่อมที่ผิดวิธี ได้แก่ การใช้หัวเชื่อมเป็นค้อน หรือค้อนเคาะสแลก เนื่องจากในการเชื่อมนั้น ปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผาไหม้ จะทำให้เกิดการก่อตัวของสแลก และจะต้องมีการกำจัดออกหลังจากการเชื่อมเสร็จสิ้น หากช่างเชื่อมไม่มีสำนึกที่ดีในการทำงาน อาจใช้หัวเชื่อมแทนค้อน เพื่อเคาะสแลกออกจากรอยเชื่อม แทนการใช้ค้อนตามปกติ
    หัวเชื่อมและอุปกรณ์ประกอบของหัวเชื่อมเหล่านี้ มักมีราคาแพง และมักจะเป็นของส่วนตัวของช่างเชื่อม ในกรณีที่หน่วยงานจัดหาหัวเชื่อมให้ จำเป็นจะต้องมีการลงทะเบียนเพื่อเบิกใช้และเก็บรักษาอย่างเข้มงวด เพราะความเสียหายของหัวเชื่อมจะส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยได้ ช่างเชื่อมมักเก็บหัวเชื่อมไว้ในกล่องเครื่องมือประจำตัว ซึ่งมักจะเกิดปัญหา เนื่องจากในกล่องเครื่องมือ และเครื่องมืออื่นๆในกล่อง มักจะมีน้ำมัน หรือจาระบีชโลมอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับก๊าซออกซิเจน เช่นเดียวกับที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
    อุปกรณ์ร่วมที่สำคัญในการเชื่อมอีกชนิดหนึ่ง คือ สายนำก๊าซ ซึ่งทำให้หน้าที่ส่งก๊าซจากขวด ไปสู่หัวเชื่อม เป็นที่เข้าใจกันว่า สายนำก๊าซจะต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสึกหรอ และฉีกขาดจากการใช้งาน สายนำก๊าซทั้งสองสายนั้น อาจเกิดการพันกันได้ง่าย และยุ่งยากกับการใช้งาน ดังนั้น ช่างเชื่อมอาจทำการยึดสายทั้งสองเข้าด้วยกัน แต่การยึดอาจทำให้ไม่สามารถตรวจสอบสภาพของสายได้ หากมีการยึดด้วยการพันตลอดเส้น หากต้องมีการยึดสายเข้าด้วยกัน ควรทำการยึดที่ตำแหน่งความห่างทุกๆ 8 – 12 นิ้ว

    affraid ท่อส่งก๊าซ
    ในบางโรงงานมีการใช้งานเชื่อมก๊าซในปริมาณมาก และมีความต้องการใช้ก๊าซในตำแหน่งซ้ำๆ จึงต้องมีการวางท่อส่งก๊าซเป็นการถาวร เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน ซึ่งท่อสำหรับก๊าซอะเซทิลีนจะต้องผลิตจากเหล็กกล้า หรือเหล็กหล่อ โดยไม่มีการใช้ท่อทองแดง เนื่องจากทองแดงสามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซอะเซทิลีน เกิดเป็น คอปเปอร์ อะเซทิไตด์ (Copper Acetytide) ซึ่งเป็นสารระเบิดที่มีอันตรายมาก และท่อสำหรับก๊าซออกซิเจน จะต้องได้รับการตรวจสอบระหว่างการติดตั้งตลอดว่า มีการปนเปื้อนของน้ำมันหรือจาระบีหรือไม่ ข้อต่อจะต้องถูกทำความสะอาดทุกชิ้น และทุกครั้งที่ทำการติดตั้ง โดยอาจทำความสะอาดได้ด้วยการล้างด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำโซดา หรือ ไตรโซเดียมฟอสเฟต และหลังจากการติดตั้งจะต้องมีการพ่นผ่านด้วยก๊าซไนโตรเจนแห้ง หรือ คาร์บอนไดออกไซด์แห้ง เพื่อกำจัดน้ำมันและสารเชื้อเพลิงที่ยังติดค้างอยู่ในท่อ
    ท่อส่งก๊าซอาจเกิดแฟลชแบ็กได้เช่นเดียวกัน จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น เชควาล์ว ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม ในบางกรณีอาจใช้ร่วมกับการดักด้วยน้ำ ซึ่งหากอุณหภูมิต่ำมาก จะทำให้น้ำเป็นน้ำแข็ง และการดักด้วยน้ำจะไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น จำเป็นต้องใส่สารป้องกันการแข็งตัวลงในน้ำด้วย

      เวลาขณะนี้ Mon May 20, 2024 8:02 am